![UploadImage](http://learning.eduzones.com/images/blog/moobo/20110124151458.jpg)
ภาวะนี้พบได้ในเด็กทุกอายุ แต่พบมากในเด็กช่วงอายุ 2-6 ปี ถ้าไม่รักษาจะทำให้เด็กหยุดหายใจเป็นช่วงๆ เกิดการขาดออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด ซึ่งอาจทำให้สติปัญญาถดถอย สมาธิสั้น การเรียนตกต่ำเลี้ยงไม่โต หัวใจโต หรือ เสียชีวิตอย่างกะทันหันได้
สาเหตุ
ส่วนใหญ่มักเกิดจาก ต่อมทอนซิลที่อยู่ข้างโคนลิ้นและต่อมอดีนอยด์ที่บริเวณหลังจมูกมีขนาดโตขึ้น และขวางทางเดินหายใจส่วนบน ขณะหลับกล้ามเนื้อในช่องคอส่วนต้นจะคลายตัว ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ โรคอื่นๆ ที่ภาวะนี้พบได้บ่อย เช่น เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ เด็กอ้วน โรคอ้วนจะมีไขมันสะสมบริเวณช่องคอเพิ่มขึ้น นอกนั้นยังพบในเด็กที่มีลักษณะโครงหน้า คาง ลิ้นและคอผิดปกติ ทำให้ลักษณะทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าปกติ
อาการ เด็กมักจะนอนกรนร่วมกับมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ หน้าอกบุ๋ม อ้าปากหายใจ ปากซีดเขียว เสียงกรนหายใจสะดุดขาดหายเป็นช่วงๆ นอนดิ้นพลิกตัวบ่อยหรือนอนในท่าแปลกๆ พ่อแม่บางรายกลัวลูกจะหยุดหายใจ ถึงกับต้องนั่งเฝ้าคอยขยับตัวลูกหรือเขย่าปลุกลูกให้ตื่น ในตอนกลางวันเด็กอาจซุกซน ไม่อยู่นิ่ง มีสมาธิสั้นหรือผล็อยหลับบ่อยๆ
การวินิจฉัย
โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์ทางเดินหายใจ และอาจต้องส่งตรวจพิเศษขณะนอนหลับ เช่น การตรวจระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ขณะหลับ (overnight oxymetry and capnogarphy) หรือตรวจการนอนหลับแบบมาตรฐาน (polysomnography) ทั้งสองวิธีเป็นการตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เด็กหลับและไม่ทำให้ เด็กเจ็บปวด การตรวจจำเป็นต้องให้เด็กค้างคืนในห้องพิเศษเดี่ยวโรงพยาบาล
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจพิเศษ ควรนัดวันตรวจกับแพทย์ หยุดยาพ่นจมูกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ งดยาภูมิแพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัดจมูก 3 วันก่อนการตรวจ
ที่มา.http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=294
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น