แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. หลักการ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.1 การพัฒนาต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้เรียน
1.2 การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.3 การพัฒนาต้องมุ่งเน้นลักษณะ Site Based Development หรือ School Based Development (SBD)
1.4 การพัฒนาต้องมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
1.5 การพัฒนาต้องสอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ที่ปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.6 การพัฒนาต้องดำเนินการในรูปของเครือข่ายกระจายทั่วประเทศ
1.7 การพัฒนาต้องสอดคล้องกับนโยบายและข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.8 การพัฒนาต้องกระทำอย่างทั่วถึงและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกกระทรวง- ศึกษาธิการ ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ
2. กลุ่มเป้าหมาย ครู และบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนประมาณ 640,000 คน ได้แก่ 2.1 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- หน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
2.2 หน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย
- สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร
- สำนักงานการศึกษาเมืองพัทยา
- สำนักงานการศึกษาส่วนท้องถิ่น 2.3 หน่วยงานในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย
- คุรุสภา
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
3. รูปแบบและวิธีการพัฒนา 3.1 การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิชาชีพทั้งสมรรถนะหลัก (Core Competency) สมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ (Functional Competency) และสมรรถนะเฉพาะตามกลุ่มสาระ (Specificational Competency) ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 3.2 รูปแบบของการพัฒนามุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ สคบศ. กำหนด ให้กระจายอยู่ทั้งประเทศ เพื่อความสะดวกในการเข้ารับการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งที่เป็นองค์กรเครือข่าย บุคคลเครือข่ายและเครือข่ายทางไกล
3.3 วิธีการพัฒนาต้องมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา แต่มุ่งเน้นวิธีการพัฒนาที่ใช้โรงเรียน/หน่วยงานเป็นฐาน (School Based Development/Insite Based Development) เป็นสำคัญ
4.1 การประเมินก่อนการพัฒนา มีจุดประสงค์เพื่อให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้ทราบถึงความต้องการและความจำเป็นของตนที่จะต้องเข้ารับการพัฒนาแล้วจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (Individual Development Plan : ID-Plan) โดยใช้ข้อกำหนดสมรรถนะ (Competency) ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นเป้าหมายในการประเมิน สำหรับกระบวนการและขั้นตอนการประเมินให้ดำเนินการ ดังนี้
4.2 การประเมินหลังการพัฒนา มีจุดประสงค์เพื่อติดตามผลการนำความรู้ และประสบการณ์ ที่ได้รับจากการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนหรือในภารกิจที่ตนเองรับผิดชอบ ดังนั้น การประเมินในกรณีนี้ จึงมี 2 ลักษณะ คือ การประเมินภายในและการประเมินภายนอก
4.2.1 การประเมินภายใน มีจุดประสงค์เพื่อติดตามดูร่องรอย ขั้นตอนและพฤติกรรม การสอนหรือการทำงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือประสิทธิผลของงานที่เกิดขึ้น โดยผู้บริหารสถานศึกษา/หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงาน ต้นสังกัด และ สคบศ.
4.2.2 การประเมินภายนอก มีจุดประสงค์เพื่อติดตามคุณภาพและประสิทธิภาพของสถานศึกษา/หน่วยงานทางการศึกษาในภาพรวม โดยหน่วยงานต้นสังกัดและองค์กรภายนอก เช่น สมศ.
4.2.1 การประเมินภายใน มีจุดประสงค์เพื่อติดตามดูร่องรอย ขั้นตอนและพฤติกรรม การสอนหรือการทำงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือประสิทธิผลของงานที่เกิดขึ้น โดยผู้บริหารสถานศึกษา/หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงาน ต้นสังกัด และ สคบศ.
4.2.2 การประเมินภายนอก มีจุดประสงค์เพื่อติดตามคุณภาพและประสิทธิภาพของสถานศึกษา/หน่วยงานทางการศึกษาในภาพรวม โดยหน่วยงานต้นสังกัดและองค์กรภายนอก เช่น สมศ.
ขอบคุณที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น