วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

โฆษณา 7-Eleven ชุด ครูฝึกสอน (วันครูปี 2553)

ครูคือใคร?

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : หมอดินน้อย ฉบับเต็ม

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : หมอดินน้อย ฉบับเต็ม

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : หมอดินน้อย ฉบับเต็ม

Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : หมอดินน้อย ฉบับเต็ม

รัสเซียมั่นใจโลกไม่หายนะ แม้สนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปแล้ว200ก.ม.

รัสเซียมั่นใจโลกไม่หายนะ แม้สนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปแล้ว200ก.ม.



การที่สนามแม่เหล็กโลกเคลื่อนที่อาจทำให้โลกได้รับรังสีจากอวกาศมากขึ้น และโลกอาจจะเกิดมหันตภัยแบบ "ฮิโรชิมา" ได้ภายในพริบตา

ตาม ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ พบว่า ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม แต่สนามแม่เหล็กโลกทั้ง 2 ขั้ว เคลื่อนที่ออกจากจุดเดิมไปแล้ว 200 กิโลเมตร ซึ่งการที่สนามแม่เหล็กโลกเคลื่อนที่จะส่งผลต่อโลก

นายเยฟเกนี ชาลัมบีริดซี หัวหน้านักวิทยาศาสตร์จากสถาบันทหารบกของรัสเซีย เปิดเผยว่า "ตามปกติแล้ว โลกจะปล่อยพลังงานที่เหลือผ่านรอยแยก แล้วออกไปยังอวกาศ แต่ถ้ารอยแยกปิด พลังงานนี้จะหลงเหลืออยู่ในโลก แต่ไม่ได้หมายความว่า ภัยธรรมชาติร้ายแรงที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้เกิดจากการเคลื่อนที่ของ สนามแม่เหล็ก"

ด้านนายอเล็กซานเดอร์ ฟีฟีลอฟ โฆษกสถาบันวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มีความเห็นว่า "ในอนาคตข้างหน้า ทั้งสนามแม่เหล็กโลกและขั้วโลกจะเปลี่ยนที่ ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นทุกๆ 23,000 ปี แต่ก่อนขั้วโลกใต้เคยอยู่บริเวณเกาะอีสเตอร์ ส่วนขั้วโลกเหนืออยู่ที่เทือกเขาหิมาลัย นี่คือเหตุผลว่า ทำไมแมมมอธ เสือเซเบอร์ทูธ และไรโนเซอรัส เคยอาศัยอยู่แถบอาร์กติก จากการที่ขั้วโลกเปลี่ยนที่อย่างรวดเร็ว อาจทำให้สัตว์แข็งตายทันที ซึ่งนักโบราณคดีพบฟอสซิลสัตว์จำนวนมากที่มีพืชผักที่ยังไม่ได้ย่อยอยู่ใน กระเพาะ"

การเคลื่อนที่ของขั้วโลก อาจทำให้อากาศบนโลกติดลบถึง 273 องศา แต่ ดร.วลาดิเมียร์ คัซเนตซอฟ ผู้วชาญด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ เห็นว่า "ในช่วง 4 ล้านปีที่ผ่านมา ขั้วโลกเปลี่ยนที่ไปแล้วถึง 16 ที่ และไม่เคยมีว่า สนามแม่เหล็กโลกจะหายไป โลกเราจะยังมีสนามแม่เหล็กกั้นรังสีจากนอกโลกอยู่ โลกจะไม่หนาวเย็นจนแข็ง และไม่มีอันตรายใดๆ ต่อมนุษยชาติ" - ปราฟดา


ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เด็กอ้วน-ภูมิแพ้ ระวัง!! ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เด็กอ้วน-ภูมิแพ้ ระวัง!! ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

UploadImageทำให้สมาธิสั้น หัวใจไม่โต และอาจเสียชีวิตกะทันหัน

         ภาวะนี้พบได้ในเด็กทุกอายุ แต่พบมากในเด็กช่วงอายุ 2-6 ปี ถ้าไม่รักษาจะทำให้เด็กหยุดหายใจเป็นช่วงๆ เกิดการขาดออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด ซึ่งอาจทำให้สติปัญญาถดถอย สมาธิสั้น การเรียนตกต่ำเลี้ยงไม่โต หัวใจโต หรือ เสียชีวิตอย่างกะทันหันได้
สาเหตุ
 
        ส่วนใหญ่มักเกิดจาก ต่อมทอนซิลที่อยู่ข้างโคนลิ้นและต่อมอดีนอยด์ที่บริเวณหลังจมูกมีขนาดโตขึ้น และขวางทางเดินหายใจส่วนบน ขณะหลับกล้ามเนื้อในช่องคอส่วนต้นจะคลายตัว ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ โรคอื่นๆ ที่ภาวะนี้พบได้บ่อย เช่น เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ เด็กอ้วน โรคอ้วนจะมีไขมันสะสมบริเวณช่องคอเพิ่มขึ้น นอกนั้นยังพบในเด็กที่มีลักษณะโครงหน้า คาง ลิ้นและคอผิดปกติ ทำให้ลักษณะทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าปกติ
 
 
อาการ         เด็กมักจะนอนกรนร่วมกับมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ หน้าอกบุ๋ม อ้าปากหายใจ ปากซีดเขียว เสียงกรนหายใจสะดุดขาดหายเป็นช่วงๆ นอนดิ้นพลิกตัวบ่อยหรือนอนในท่าแปลกๆ พ่อแม่บางรายกลัวลูกจะหยุดหายใจ ถึงกับต้องนั่งเฝ้าคอยขยับตัวลูกหรือเขย่าปลุกลูกให้ตื่น ในตอนกลางวันเด็กอาจซุกซน ไม่อยู่นิ่ง มีสมาธิสั้นหรือผล็อยหลับบ่อยๆ
 
 
การวินิจฉัย
 
        โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์ทางเดินหายใจ และอาจต้องส่งตรวจพิเศษขณะนอนหลับ เช่น การตรวจระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ขณะหลับ (overnight oxymetry and capnogarphy) หรือตรวจการนอนหลับแบบมาตรฐาน (polysomnography) ทั้งสองวิธีเป็นการตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เด็กหลับและไม่ทำให้ เด็กเจ็บปวด การตรวจจำเป็นต้องให้เด็กค้างคืนในห้องพิเศษเดี่ยวโรงพยาบาล
 
 
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจพิเศษ         ควรนัดวันตรวจกับแพทย์ หยุดยาพ่นจมูกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ งดยาภูมิแพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัดจมูก 3 วันก่อนการตรวจ
ที่มา.http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=294

รับมืออากาศเปลี่ยนแปลงด้วยวิตามินซี

รับมืออากาศเปลี่ยนแปลงด้วยวิตามินซี


อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เดี๋ยวสะบัดร้อน สะบัดหนาว บางทีก็มีฝนตกไม่เลือกฤดูให้งวยงงกันเล่น ทำให้การปรับสภาพร่างกายให้เข้ากับสภาวะอากาศไม่ลงตัว หลายๆ คนถึงกับไข้หวัดถามหา มีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล ทั้งจามทั้งไอ หัวมึนตื้อไปหมด เป็นที่น่ารำคาญใจตัวเองและคนข้างเคียง บ้างก็ต้องลางาน หยุดหลายวัน ขาดเรียนไป ทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมาเพราะใกล้ช่วงสอบไล่เต็มที
UploadImage
ภญ.กรรณิการ์ เอกศักดิ์ บริษัท เฮลธ์ อิมแพค จำกัด นำเสนอวิธีการป้องกันและรักษาสุขภาพในช่วงแห่งอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ ว่า ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัดได้ ร่างกายจะเป็นผู้สร้างภูมิต้านทานตามธรรมชาติมาทำลายเชื้อไวรัส การ รักษาจึงเป็นการแก้ไขอาการ เช่น ให้ยาลดไข้แก้ปวดเมื่อไข้สูงหรือปวดหัว และให้ยาลดน้ำมูกเมื่อคัดจมูกหรือมีน้ำมูกมาก ซึ่งยาลดน้ำมูกส่วนใหญ่มีผลทำให้ง่วงซึม มึนงง ต้องระวังในผู้ที่ขับขี่ยวดยานหรือใช้เครื่องจักร

 ดังนั้น นอกจากการทานยาเพื่อลดอาการแล้ว การดูแลสุขภาพก็มีส่วนช่วยให้อาการหวัดหายเร็วขึ้น เช่น อาบน้ำอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ การจิบน้ำอุ่นหรือน้ำผึ้งผสมมะนาวให้ชุ่มคอ ลดการระคายเคือง ระวังเรื่องการสั่งน้ำมูก อย่าสั่งแรงๆ เพราะจะทำให้เชื้อเข้าสู่โพรงไซนัสหรือหูชั้นใน เกิดการอักเสบมากขึ้น ถ้าเด็กเล็กควรใช้ลูกยางดูดน้ำมูกเพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น ส่วนการรับประทานอาหาร ควรทานอาหารที่ย่อยง่ายและทานผลไม้ที่ให้วิตามินโดยเฉพาะวิตามินซีสูง เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย เช่น ส้ม มะเขือเทศ ฝรั่ง ก็สามารถช่วยให้หวัดหายเร็วขึ้นได้
วิตามินซีมีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย เป็นตัวสร้างคอลลาเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ผิวหนัง กระดูก ฟัน เหงือกและเส้นเลือด ช่วยสมานและซ่อมแซมเนื้อเยื่อบาดแผลให้หายเร็วขึ้น รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน และช่วยคลายเครียด แต่บางท่านก็ได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ ดังจะสังเกตได้จากการเป็นหวัดหรือภูมิแพ้บ่อยๆ นั่นหมายความว่าภูมิต้านทานในร่างกายเราไม่สมบูรณ์พอ ผิวพรรณซูบซีด ไม่เปล่งปลั่งสดใส หรือบางท่านที่เครียดมีผลให้เป็นโรคกระเพาะ ไมเกรน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และสาวๆ หนุ่มๆ ที่ชอบสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ไลฟ์สไตล์เหล่านี้ก็ต้องการวิตามินซีมากกว่าคนทั่วไปเหมือนกัน
สำหรับ ปริมาณวิตามินซีที่เราควรได้รับต่อวันคือ 60 มิลลิกรัม ถ้าเทียบง่ายๆ ก็คือ ทานส้มสด 1 ผลให้วิตามินซี 20 มิลลิกรัม ก็ต้องทานให้ได้ 3 ผลต่อวัน หรือทานจากผักสด ผลไม้ต่างๆ ซึ่งแต่ละชนิดก็ให้ปริมาณวิตามินซีแตกต่างกัน ผักที่ให้วิตามินซีมากหน่อย เช่น บร็อกโคลีหรือผลไม้สดที่มีรสเปรี้ยว เช่น สับปะรด มะขาม ส่วนที่ให้วิตามินซีน้อย เช่น กล้วย ผักกาดกรอบ หรือหัวหอม
นอก จากการทานผักผลไม้แล้ว การทานวิตามินซีเสริมในรูปเม็ดยาเม็ดก็เป็นอีกทางเลือก ในปัจจุบันก็มีวิตามินซีเสริมในรูปแบบเจลลี่เคี้ยวสนุกอร่อยเพลิน ทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้การเสริมวิตามินซีเป็นเรื่องสนุก และได้ประโยชน์ของคุณค่าวิตามินซีเต็มๆในรูปแบบ ซีโด้ เจลลี่กลีบส้ม 1 กลีบ ให้วิตามินซี 60 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับทานส้ม 3 ผลนั่นเองที่มา.
http://variety.teenee.com/foodforbrain/32705.html

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

หนุน-ค้านคืน "ไม้เรียว" ให้ครู

หนุน-ค้านคืน "ไม้เรียว" ให้ครู
ศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 มกราคม กรณีมีการเรียกร้องให้ออกมาตรการใช้ไม้เรียวกับนักเรียนว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะจะกลายเป็นการทำร้ายร่างกายและจิตใจเด็ก เด็กจะรับไม่ได้ ยิ่งตียิ่งทำให้เด็กยิ่งกระเจิง เด็กจะไม่ยอมรับในตัวครูมากขึ้น เท่ากับทำลายอนาคตเด็กในที่สุด คนเป็นครูต้องใช้เหตุผลและต้องอดทนให้มากกว่าคนปกติ
นางบุปผา มณีพรหม ผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จ.สงขลา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะนำไม้เรียวกลับมาใช้กับเด็กนักเรียนอีกครั้งหนึ่งเพราะหาก เกิดการเฆี่ยนตีขึ้น จะมีการฟ้องร้องต่อศาลตามมา ต้องเสียเวลาหลายเดือนกว่าศาลตัดสิน เสียความรู้สึกและเสียเวลา และที่ร้ายไปกว่านั้นผู้ปกครองที่กอดรัดลูกไว้แน่น เมื่อลูกถูกลงโทษจะโยนความผิดมาให้ครูทั้งหมด เกิดการข่มขู่คุกคามครู ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

ด้านนายวินิจ ซุ้นสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนสทิงพระวิทยา จ.สงขลา กล่าวว่า เห็นด้วยและขอสนับสนุนแนวคิดคืนไม้เรียวให้กับครูยึดสุภาษิตไทยรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เพราะเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งในโรงเรียนในชนบทไม่กลัวการใช้มาตรการเบาๆ ลงโทษ ที่เกรงกลัวอย่างเดียวคือไม้เรียว ให้ครูตีนักเรียนเช่นเดียวกับการตีลูกจึงต้องมีระเบียบออกมาชัดเจนว่าความ ผิดเรื่องใดให้เฆี่ยนกี่ครั้ง และไม้เรียวที่ใช้ตีมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใด



ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

คลอด2มาตรฐานหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่ ป.โทสอนรายวิชา-ประจำชั้น

 คลอด2มาตรฐานหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่ ป.โทสอนรายวิชา-ประจำชั้น

นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ได้เห็นชอบแนวทางการออกแบบ มาตรฐานหลักสูตรครูยุคใหม่หลักสูตรปริญญาโท 2 ปี และหลักสูตรครูปริญญาตรีควบโท 6 ปี โดยหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี มีปรัชญาของหลักสูตร คือ การพัฒนาสร้างครูประจำวิชา เพื่อสอนระดับ ม.ปลายและอาชีวศึกษา ซึ่งผู้ที่จะเรียนหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรม.ปลาย หรือ GPAX และผลการเรียนวิชาเอกไม่ต่ำกว่า 3.00 มีความสามารถภาษาอังกฤษดี มีคะแนนสอบภาษาอังกฤษที่เทียบกับ TOEFL ไม่น้อยกว่า 500 คะแนน จำนวนหน่วยกิตรวม 36 หน่วยกิต ทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต โดยในช่วง 1 ปีแรกต้องเรียนรายวิชาชีพครูควบคู่กับการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอน รายวิชาชีพครู ควรศึกษาภาคทฤษฎีควบคู่กับภาคปฏิบัติในโรงเรียนในระหว่างเรียนด้วย และฝึกประสบการณ์สอนในสาขาเอกในปีที่ 2 พร้อมทำวิจัยควบคู่ไปด้วย

นายไชยยศ กล่าวต่อไปว่า ส่วนหลักสูตรปริญญาตรีควบโท 6 ปี มีปรัชญาของหลักสูตร คือ การสร้างครูประจำชั้น เพื่อสอนได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยขึ้นไป โดยผู้เรียนจะได้รับการบ่มเพาะความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งศาสตร์ด้านการศึกษา และศาสตร์วิชาเฉพาะตลอดหลักสูตร สำหรับผู้ที่จะเรียนหลักสูตรนี้ต้องสำเร็จการศึกษาระดับ ม.ปลายหรือเทียบเท่า มี GPAX และผลการเรียนในวิชาเอกที่เลือกเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00 ผลสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และ ผลสอบความถนัดทางวิชาชีพหรือวิชาการ ( PAT) วิชาวัดแววความเป็นครู PAT ภาษาอังกฤษ และคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี จำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียนคือ 156 หน่วยกิต นอกจากนี้ในช่วง 4 ปีแรกต้องเรียนวิชาวิจัยขั้นพื้นฐานและวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนการสอน ขณะที่รายวิชาชีพครู ควรศึกษาภาคทฤษฎีควบคู่กับภาคปฏิบัติในโรงเรียนในระหว่างเรียนด้วย และฝึกประสบการณ์สอนในสาขาวิชาเอกในปีที่ 5 พร้อมทำวิจัยควบคู่ไปด้วย สำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตรต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบ เท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขา ที่สัมพันธ์กัน และต้องมีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 5 ปี

“การออกแบบมาตรฐานหลักสูตรครูยุคใหม่ดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงและสามารถตอบสนองทั้งความต้องการของ ครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อการผลิตนักเรียนให้มีคุณภาพต่อไปในอนาคต”รมช.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้มอบให้คณะกรรมการโครงการฯไปสำรวจความพร้อมของ สถาบันที่เสนอรายชื่อว่ามีความพร้อมในการผลิตครูในหลักสูตรทั้ง 2 หลักสูตรดังกล่าว ว่ามีมากน้อยเพียงใด รวมถึงสำรวจความพร้อมของบุคลากรเพื่อจะได้เตรียมการว่าจะต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อพัฒนาบุคลากรที่จะเป็นครูของครูได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ที่มา เดลินิวส์ วันที่ 21 มกราคม 2554 

http://www.kroobannok.com

แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแนวใหม่

แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
 
1.  หลักการ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

          1.1  การพัฒนาต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวผู้เรียน
          1.2  การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษา
          1.3  การพัฒนาต้องมุ่งเน้นลักษณะ
Site Based Development หรือ School Based Development (SBD)
          1.4  การพัฒนาต้องมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
          1.5  การพัฒนาต้องสอดคล้องกับภารกิจและหน้าที่ที่ปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา
          1.6  การพัฒนาต้องดำเนินการในรูปของเครือข่ายกระจายทั่วประเทศ
          1.7  การพัฒนาต้องสอดคล้องกับนโยบายและข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          1.8  การพัฒนาต้องกระทำอย่างทั่วถึงและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกกระทรวง- ศึกษาธิการ ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ
2.  กลุ่มเป้าหมาย  ครู และบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนประมาณ  
640,000 คน   ได้แก่          2.1  หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย
                   -  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                   -  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                   -  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
                   -  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                   -  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
                   -  หน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
          2.2  หน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  ประกอบด้วย
                   -  สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร
                   -  สำนักงานการศึกษาเมืองพัทยา
                   -  สำนักงานการศึกษาส่วนท้องถิ่น
                2.3  หน่วยงานในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย
                   -  คุรุสภา
                   -  โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
3.  รูปแบบและวิธีการพัฒนา
          3.1  การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิชาชีพทั้งสมรรถนะหลัก (Core Competency)   สมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ (Functional Competency) และสมรรถนะเฉพาะตามกลุ่มสาระ (Specificational Competency)  ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด           3.2  รูปแบบของการพัฒนามุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ สคบศ. กำหนด ให้กระจายอยู่ทั้งประเทศ เพื่อความสะดวกในการเข้ารับการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งที่เป็นองค์กรเครือข่าย บุคคลเครือข่ายและเครือข่ายทางไกล
          3.3  วิธีการพัฒนาต้องมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา แต่มุ่งเน้นวิธีการพัฒนาที่ใช้โรงเรียน/หน่วยงานเป็นฐาน (
School Based  Development/Insite Based  Development)  เป็นสำคัญ
4.  การประเมินการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา
     
4.1  การประเมินก่อนการพัฒนา มีจุดประสงค์เพื่อให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้ทราบถึงความต้องการและความจำเป็นของตนที่จะต้องเข้ารับการพัฒนาแล้วจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (
Individual Development Plan : ID-Plan)  โดยใช้ข้อกำหนดสมรรถนะ (Competency)  ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นเป้าหมายในการประเมิน สำหรับกระบวนการและขั้นตอนการประเมินให้ดำเนินการ ดังนี้
4.2 การประเมินหลังการพัฒนา มีจุดประสงค์เพื่อติดตามผลการนำความรู้ และประสบการณ์            ที่ได้รับจากการพัฒนาของครู และบุคลากรทางการศึกษา ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนหรือในภารกิจที่ตนเองรับผิดชอบ ดังนั้น การประเมินในกรณีนี้ จึงมี 2 ลักษณะ คือ การประเมินภายในและการประเมินภายนอก
                   4.2.1 การประเมินภายใน มีจุดประสงค์เพื่อติดตามดูร่องรอย ขั้นตอนและพฤติกรรม
       การสอนหรือการทำงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือประสิทธิผลของงานที่เกิดขึ้น โดยผู้บริหารสถานศึกษา/หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงาน ต้นสังกัด และ สคบศ.
                   4.2.2 การประเมินภายนอก มีจุดประสงค์เพื่อติดตามคุณภาพและประสิทธิภาพของสถานศึกษา/หน่วยงานทางการศึกษาในภาพรวม โดยหน่วยงานต้นสังกัดและองค์กรภายนอก เช่น สมศ.


ขอบคุณที่มา 

http://gotoknow.org

20 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


20 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


1. เส้นเลือดในร่างกายมนุษย์มีความยาวรวม 62,000 ไมล์ ถ้านำมันมาเรียงต่อกันเป็นทางยาวจะได้ความยาว ถึง 2.5 เท่าของเส้นรอบวงโลก 

2. The Great Barrier Reef (แนวปะการังที่ยาวทีสุดในโลกบริเวณออสเตรเลีย) เป็นโครงสร้างสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีความยา วกว่า 2000 กิโลเมตร 

3. โอกาสที่โลกจะถูกโจมตีด้วยอุกาบาตขนาดใหญ่ อยู่ที่ 9300 ปีต่อครั้ง 

4. ดาวนิวตรอนขนาดเท่าหัวแม่มือมีน้ำหนักกว่า 100 ล้านตัน 

5. พายุเฮอริเคนหนึ่งลูกผลิตพลังงานเท่ากับระเบิดขนาด 1 เมกะตันจำนวน 8000 ลูก 

6. คาดว่ามีพยาธิปากขอ ซึ่งดูดเลือดเป็นอาหารอยู่ในร่างกายมนุษย์โลกเรา 700 ล้านคน 

7. Fred Rompelberg คือผู้ขี่จักรยานด้วยความเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ ว 166.94 ไมล์ต่อชั่วโมง 

8. มนุษย์เราสามารถคิดค้นแสงเลเซอร์ที่มีความสว่างกว่าแ สงอาทิตย์ 1 ล้านเท่า 

9. 65% ของผู้ป่วยออทิสติคส์ เป็นคนถนัดซ้าย 

10. Finnish pine tree (ต้นสนชนิดหนึ่งในฟินแลนด์) มีความยาวของรากแต่ละต้นรวมแล้วกว่า 30 ไมล์ 

11. จำนวนเกลือที่อยู่ในน้ำทะเลทั่วโลกเรา สามารถปกคลุมพื้นผิวทวีปทั่วโลกได้หนากว่า 500 ฟุต 

12. กลุ่มแก๊สระหว่างหมู่ดาวในราศีธนู มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์นับหมื่นล้านล้านลิตร 

13. หมีขั้วโลกสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 25 ไมล์ต่อชัวโมง และกระโดดได้สูงกว่า 6 ฟุต 

14. มนุษย์และปลาโลมาสืบสายพันธ์เดียวกันมาตั้งแต่ 60 - 65 ล้านปีก่อน 

15. กล้อง infared จับภาพหมีขั้วโลกได้ยากมาก เนื่องจากคุณสมบัติของขนของมัน 

16. เฉลี่ยแล้วในหนึ่งปี คนเราจะกินสัตว์จำพวกเห็บลิ้นไร โดยไม่ได้ตั้งใจไป 430 ตัวต่อคนต่อปี 

17. รากของต้น Rye(ข้าวชนิดหนึ่งใช้หมักสุรา) สามารถแผ่ขยายไปได้ถึง 400 ไมล์ 

18. อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวพุธสูงกว่า 430 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน แต่ลดลงต่ำกว่า ติดลบ 180 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน 

19. ภายใน 24 ชั่วโมง ต้นโอ๊กขนาดใหญ่ขับน้ำ(ในรูปของไอน้ำ)ออกมา 10 - 25 แกลลอน 

20. ผีเสื้อรับรู้รสด้วยขาหลังของมัน โดยประสาทการรับรู้ทำงานโดยการสัมผัส ทำให้มันรู้ว่าใบไม้และดอกไม้ที่มันสัมผัส มีรสชาติอย่างไรและกินได้หรือไม่  


ขอบคุณที่มา 

http://forum.mthai.com

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ให้สนุก 7 ประการ


การสอนวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบ 7 ประการที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ได้ผสมผสาน วิธีการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง การใช้ความคิดทางด้านต่างๆ และการเรียนรู้ โดยนักเรียนเป็นศูนย์กลางเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเด็กๆ โดยเฉพาะในระดับประถมและมัธยมต้น
จะสนุกกับวิธีการสอนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาให้พวกเขา ได้ทดลองวิธีนี้จึงจัดว่าเป็นการสอนโดยใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบ 7 ข้อนี้ได้เรียงลำดับ ไว้เพื่อความเหมาะสมในการสอนทุกๆ ข้อมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันและไม่จำเป็นว่าจะต้องนำไปปฏิบัติ เรียงตามลำดับนี้ เพราะจุดประสงค์ของรูปแบบการสอนนี้มีไว้เพื่อเป็นกรอบความคิดทาง การสอนได้หวังว่าครูจะต้องนำไปปฏิบัติตาม การสอนแบบนี้จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียน และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง บนโครงสร้างพื้นฐานของการเรียนรู้จากหลายๆ แขนง เช่น ตรรกวิทยา คณิตศาสตร์ ดนตรี ภาษาศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักเรียนค้นพบ วิทยาศาสตร์ จากแง่มุมต่างๆ ได้ องค์ประกอบทั้ง 7 ประการคือ

การคาดหมาย (Expectation)
หมายถึง วัตถุประสงค์กว้างๆ เป็นแนว ความคิดหรือการสร้างภาพกว้างๆ เกี่ยวกับบทเรียนขึ้นมา ครูจะต้องมีความยืดหยุ่นที่จะ ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์นี้ไปตามสถานการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพ เพราะหากเราจำกัดวัตถุ ประสงค์เกินไป ไม่เปิดกว้าง จะทำให้ไม่สามารถเห็นความสนใจและความก้าวหน้าของ นักเรียนได้อย่างแท้จริง ดังนั้นผลสุดท้ายของวัตถุประสงค์จึงอาจจะถูกเปลี่ยนไปได้จาก แรกเริ่มอย่างที่เรียกว่าหน้ามือเป็นหลังมือก็ได้ ตัวอย่างเช่น ในการสอนเรื่องวงจรไฟฟ้า วัตถุประสงค์เริ่มต้นนั้นมีเพียงแค่ให้นักเรียนเกิดความสนใจในรูปแบบของวงจร เปิด วงจรปิด วงจรขนาน แต่เมื่อจบบทเรียนจริงๆ แล้วเด็กๆ อาจจะถึงกับสามารถสร้าง เครื่องวิทยุอย่างง่ายๆ ขึ้นเองได้ ดังนั้นเมื่อเด็กๆ รู้ว่าตนได้รับการเปิดกว้างในการเรียน วิทยาศาสตร์จากครูเต็มที่ เขาก็จะเริ่มตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ และค้นหาสิ่งที่อยากรู้มากขึ้น

สิ่งล่อใจ (Enticement)
คือ กิจกรรมที่จะสามารถชักชวนให้เด็กๆ สนใจ จะเรียนรู้ อาจจะออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้วีดีโอ การเล่าเรื่องสั้น การจัดตกแต่ง ห้องเรียน การใช้เสียงประกอบ ใช้อารมณ์ขันหรือการสาธิตให้ดู

การเข้าร่วมกิจกรรม (Engagement)
ช่วยให้เกิดความเข้าใจใน บทเรียน โดยอาจจะเป็นการนำเสนอหน้าชั้น การสาธิต หรือการทำกิจกรรมร่วมกัน

การอธิบาย (Explanation)
หลังจากที่ได้ช่วยกันพิจารณาวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้จนเกิดความเข้าใจแล้ว ก็จะเป็นช่วงที่นักเรียนจะมีการอภิปรายร่วมกัน ในการอธิบาย แนวความคิดหลักต่างๆ ทั้งครูและนักเรียนอาจเป็นผู้ริเริ่มหัวข้าสนทนาได้ทั้งในกลุ่มเล็กและ กลุ่มใหญ่ แหล่งที่มาของข้อสนทนาก็อาจจะมาได้จากแหล่งต่างๆ นอกเหนือจากในหนังสือ เรียนสื่อที่จะช่วยการอธิบายก็มีเช่น การใช้สมุดภาพ การไปทัศนศึกษาเพื่อให้นักเรียนเห็น ของจริง ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต หรือห้องสมุดโรงเรียนก็จะเป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ นอกจากนี้กิจกรรมภายในบ้าน เช่น การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ก็ช่วยเชื่อมโยง กับบทเรียนได้อีกด้วย

การค้นหา (Exploration)
จะช่วยผลักดันให้นักเรียนพิจารณาความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ นำมาเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของชั้นเรียน การทำกิจกรรมด้วย ตนเอง เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนวิทยาศาสตร์ และสิ่งนี้จะดึงดูดความสนใจนักเรียนและ จะช่วยทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนดีขึ้นได้ การที่ครูจัดเตรียมอุปกรณ์การทดลอง และ การทดลองหลากหลายไว้ให้ จะช่วยเพิ่มขอบเขตความคิดของนักเรียน

การขยายความ (Extension)
เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ ของตนมาปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆ รู้จักหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า “มันจะเป็นอย่างไรถ้า…..” ครูสามารถจะให้นักเรียนใช้ความรู้ของตนมาใช้ทดลองเองกับอุปกรณ์ที่มีอยู่ใน ห้องเรียน ให้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เพื่อที่จะให้นักเรียนสามารถค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
หลักฐาน (Evidence)
เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนสะท้อนความรู้ ความคิดของตนออกมาทางการเขียนที่มิใช่การทำข้อสอบ นักเรียนจะต้องเขียนผลลัพธิ์ของ การทดลองเพื่อฝึกการจัดระบบความคิด และเชื่อมโยงความคิดกับความรู้สึก ประสบการณ์ที่มี และเรามีแนวการเขียนรายงานสั้นๆเรียกว่า ฟอร์ กอล์ฟเฟอร์ (FGOLFeRS) ซึ่งเป็นการ เขียนรายงานที่เริ่มด้วยการวาดโครงร่างของกระบวนการและผลลัพธ์ของการทดลอง จากนั้น ให้สะท้อนความรู้สึกในระหว่างที่ทำกิจกรรมนั้น เชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่ผ่านมาและแนวคิด ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ฟอร์ กอล์ฟ เฟอร์ประกอบด้วย
F – Find
กล่าวถึงสิ่งที่เราต้องการจะค้นหา โดยให้วัตถุประสงค์ของการทำการทดลองนั้นๆ
G – Guess
กล่าวถึงผลลัพธ์ที่เราคาดเดาไว้ก่อนทำการทดลอง
O – Order
กล่าวถึงลำดับขั้นของการทำการทดลอง
L – Learn
กล่าวถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการทำการทดลองนั้น
Fe – Feeling
เรามีความรู้สึกอย่างไรในระหว่างที่ทำการทดลอง และรู้สึกอย่างไรหลังจากทดลองแล้วเสร็จ
R – Remind
กล่าวถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการทดลองนี้ทำให้เรานึกถึงเหตุการณ์อื่นๆที่ผ่านมาบ้างหรือไม่ และเกี่ยวข้องกันอย่างไร
S – Science
คิดว่าการทดลองนี้มีผลกระทบต่อวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคตอย่างไร เราคิดว่ามันมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
เพราะวิชาวิทยาศาสตร์จะต้องอิงอยู่กับการทดลองเสียเป็นส่วนมาก ดังนั้น การเขียนรายงานจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะแสดงความเข้าใจในเนื้อหา แต่อย่างไรก็ตามการ เขียนรายงานก็อาจจะต้องเสียเวลามาก ดังนั้นการประมวลความรู้ ร่วมกับเพื่อนๆ จะช่วยเพิ่มคุณภาพของการเขียนและลดเวลาที่ครู จะให้คะแนนลงไปได้ หรือเราอาจจะให้นักเรียนในกลุ่มเล็กๆ ช่วยกัน เติมข้อความหรือวาดโครงร่างเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้เรียน ได้ใช้กลยุทธ ในการเรียนหลายๆ แบบ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดในการใช้แนวคิดนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นอิสรภาพ ในการเลือกและเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เข้ากับชีวิตจริงของเรา


ขอบคุณที่มา 

http://www.learnsanook.info เรียนสนุก

ครูหลักสูตร 5 ปี

ครูหลักสูตร 5 ปี "สอนเทอมนี้"

 

          การศึกษาชาติเริ่มมีความหวัง  สพฐ.เตรียมนำครูสายพันธุ์ใหม่หลักสูตร  5 ปี ชุดแรกที่จบปีนี้กว่า  2  พันคนกระจายตาม  รร.ต่างๆ  ทั่วประเทศ   แต่เน้นจัดลงในภูมิลำเนาเดิมของแต่ละคนก่อน   คาดได้รับการบรรจุและลงมือสอนเด็กทันช่วงเปิดเทอมใหม่ปีนี้
          คุณหญิงกษมา  วรวรรณ  ณ  อยุธยา  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (เลขาธิการ  กพฐ.)  กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการบรรจุข้าราชการครู   ในส่วนโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี  หลักสูตรทุนครู  5  ปี  จำนวน  2,041  ราย  ซึ่งรุ่นแรกเพิ่งจบการศึกษาในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา   เข้าเป็นครูประจำสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านเกิดของเจ้าตัว  ว่า  สพฐ.จะขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  (สพท.)  แจ้งสาขาวิชาเอกที่แต่ละ  สพท.ประกาศรับ   มายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (สพฐ.)  และ  สพฐ.จะสรุปข้อมูลว่าแต่ละ  สพท.สามารถยังขาดแคลนครูในเอกใด  จำนวนเท่าไหร่  จากนั้น  สพฐ.จะนำข้อมูลที่  สพท.แจ้งมาขึ้นเว็บไซต์ของ  สพฐ.เพื่อให้นักศึกษาตรวจสอบสาขาที่ตัวเองจบว่าตรงกับที่  สพท.ประกาศรับหรือไม่   โดย  สพฐ.จะทำเรื่องแจ้ง  สพท.ให้เร่งตรวจสอบสาขาที่ขาดภายในวันที่  3  เม.ย.นี้
          ทั้งนี้  เพื่อขอให้  สพท.ทำเรื่องเสนอขออนุมัติบรรจุกับ  อ.ก.ค.ศ.ไม่เกินวันที่  16  เม.ย.  จากนั้น  สพท.แต่ละเขตจะต้องดำเนินการเปิดรับสมัคร   โดยจะใช้วิธีสอบสัมภาษณ์ในการคัดเลือก  เพื่อให้สามารถบรรจุครูได้ทันภายใน วันที่  15  พ.ค.  พอดีกับช่วงเปิดภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2552
          สำหรับศึกษาจากทุนครู  5  ปี  จำนวน  2,041  ราย  สพฐ.จะเน้นกระจายไปยังภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา   แต่หาก  สพท.ที่นักศึกษาอยู่ไม่มีอัตราครูในวิชาเอกที่นักศึกษาจบออกมา  ก็ขอให้ดูในพื้นที่ใกล้เคียง   อย่างไรก็ตาม  สพฐ.พยายามจะเกลี่ยเด็กให้สามารถลงในภูมิลำเนาใกล้บ้านให้ได้มากที่สุด   จึงขอให้แต่ละ  สพฐ.เร่งตรวจสอบว่าในพื้นที่ของตัวเองยังขาดแคลนครูในวิชาเอกหรือสาขาใด อยู่   และให้แจ้งมายัง  สพฐ.เพื่อขออัตรากำลังกับ  อ.ก.ค.ศ.ต่อไป
          "อยากให้  สพท.พยายามดึงเด็กที่จบจากโครงการนี้ไว้ให้ได้มากที่สุด   เพราะเชื่อว่าเด็กเหล่านี้ถือเป็นความหวังในการพัฒนาการศึกษา   ส่วนตัวนักศึกษาเองต้องรีบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเพื่อรอเข้ารับการคัด เลือกต่อไป"  คุณหญิงกษมากล่าว
          นอกจากนั้น  สพฐ.ยังเตรียมเปิดสอบบรรจุบุคคลทั่วไปบรรจุเป็นครูในปี  2552  ด้วย  โดยมีเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน  24  เขต  ขอเปิดสอบครูใน  36  วิชา  แต่ยังไม่ทราบยอดรวมจำนวนครูที่จะรับ   ทั้งนี้ทาง  สพฐ.ขอให้เขตพื้นที่ที่จะเปิดสอบครูเร่งขออนุญาต  อ.ก.ค.ศ.เพื่อออกประกาศรับสมัครภายใน  16  เม.ย.เช่นกัน   แต่ขั้นตอนการสอบบรรจุบุคคลทั่วไปเป็นครูนั้น   มีขั้นตอนต่างๆ  กินเวลามากกว่าการรับนักเรียนทุน  5  ปีเป็นครู  เพราะฉะนั้นคาดว่า  ครูใหม่กลุ่มนี้จะบรรจุได้ในเดือน  มิ.ย.  อย่างไรก็ตาม  ปี  2552  เป็นปีที่  สพฐ.จะสามารถบรรจุครูใหม่ได้มาก   เพราะได้อัตราเออร์ลีรีไทร์คืนมา  12,039  คน  และได้อัตราเกษียณตามปกติคืน  5,139  คน.


ขอบคุณที่มา  

http://www.enn.co.th/news ข่าวการศีกษาไทย